ความแตกต่างของ “บทความทั่วไป” และ “บทความเน้น SEO” แบบเข้าใจง่ายๆ

ช่วงหลังมานี้มีผู้ให้บริการรับจ้างเขียนเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็รับดูแลเว็บไซต์ทั่วไป, บ้างก็รับดูแลเพจ หรือบ้างก็อ้างบอกว่ารับเขียนบทความเน้น SEO โดยเฉพาะ ที่มีผลดีต่อ Google อยู่มากมายเต็มไปหมด

ผมเองที่อยู่ในวงการ SEO และ Website มาช่วงเวลาหนึ่ง (ก็คิดว่ามากพอควร) เห็นอะไรเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง เลยคิดว่าเอาหัวข้อนี้มาเล่าให้ฟังกันดีกว่า ว่าจริงๆแล้ว บทความทั่วไป และบทความเชิง SEO มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ถ้าเอาคำตอบแบบจริงใจจากผมนะ บทความก็คือบทความ แม่งไม่มีความต่างกันหรอก ที่ต่างอะคือเนื้อหาที่ถูกต้อง และคนที่เขียนต่างหาก

ผมเคยเอาบ้านเลขที่เพื่อน มาเขียนเล่นๆ เลยนะแล้วติดที่ 1 Google ในวันเดียวเลย แบบนี้เรียกเนื้อหา SEO ก็เรียกได้เลยนะ เพราะเข้า Concenpt ไม่ซ้ำ + ติดหน้าแรก Google แล้วยังไงต่อ… ได้ประโยชน์อะไรไหม? ก็ไม่นะ ทำเอาเท่ห์ๆ

>>> แต่แล้วทำไมจึงมีคนเรียก และใช้คำว่าบทความเชิง SEO กันละ <<<

ก็เพราะแต่ก่อนเนี่ย คนเชื่อกันไปว่า 1 บทความ ที่ดีต่อ SEO ต้องมีความยาวเท่านั้น เท่านี้ เช่น 500 คำ 1,000 คำ ต้องใส่รูปด้วยนะ ต้องมีตัวหนา มีตัวเอียง ใส่สีตรงนั้น ไฮไลท์ตรงนี้ แล้วจะดีต่อ SEO ซึ่งมันก็ไม่ผิด เป็นความเชื่อว่ามันจะดี ไม่ได้มีใครบอกหรอก ว่ามันถูกหรือว่าผิด จนกลายเป็นว่ามาเป็นชื่อเรียกของบทความเชิง SEO ไปซะงั้น

ที่ผมพยายามเขียนเพื่อสื่อสารมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อว่าไม่อยากให้ไปโฟกัสกับการเพิ่มมูลค่าบทความทั่วไปให้ราคาแพงขึ้น ของผู้รับจ้างเขียนบทความ ด้วยคำว่าบทความเชิง SEO เท่านั้นครับ

แต่อยากให้เข้าใจว่า หากจะทำลักษณะนั้น จ้างทำ On-Page SEO จะยังดีกว่าครับ ซึ่งก็คือการทำหน้าเว็บหน้าใดหน้าหนึ่ง เขียน จัดเรียงข้อมูลเนื้อหาให้ดีๆ และ Google (น่าจะ) ชอบรูปแบบนั้นๆ มากกว่านั่นเองแหละ

ดังนั้น ก็ตามที่เขียนไปนี้เลยนะครับ บทความคือบทความ แต่บทความที่ดี เชิง SEO มันคือการทำ On-Page + Content ไปพร้อมๆ กันอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เพียง เขียนแล้วส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างไปทำเองต่อ แต่ในการจ้างงานก็ขึ้นอยู่ความความพึงพอใจผู้จ้าง ผู้รับจ้าง สบายใจแบบไหนก็ลองตัดสินใจกันดูครับ

หากต้องการจ้างเราก็มี คำแนะนำในการจ้าง Out Source เขียนบทความ ให้ตรงใจเอาไว้ให้ครับ เผื่อใครอยากอ่านเพิ่มเติมดู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *